วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554
นายปรีดี พนมยงค์
ปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ณ เรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในครอบครัวชาวนาไทย เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายเสียง และนางลูกจันทน์ พนมยงค์
ประวัติทางการเมือง
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม นอกจากนี้ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส" ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดของไทย
ปรีดี พนมยงค์ ต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้ท่านต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี และไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม ใน พ.ศ. 2526
ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศนายปรีดีได้ดำเนินการฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี และยังได้รับความรับรองจากทางราชการตลอดจนเงินบำนาญและหนังสือเดินทางของไทย
ในปี พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" และได้ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของท่าน ระหว่าง พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544[15] นอกจากนี้นิตยสารเอเชียวีคยังได้เสนอชื่อของท่านเข้าชิงตำแหน่ง "Asian Of The Century" อีกด้วย
การสมรส
การสมรสและครอบครัว
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้สมรสกับ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร์) ธิดา มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) กับ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (สุวรรณศร) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 มีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งหมด 6 คน คือ
นางสาวลลิตา พนมยงค์
นายปาล พนมยงค์ สมรสกับ นางเลิศศรี จตุรพฤกษ์
นางสาวสุดา พนมยงค์
นายศุขปรีดา พนมยงค์ สมรสกับ นางจีรวรรณ พนมยงค์ วรดิลก
นางดุษฎี บุญทัศนกุล สมรสกับ นายชาญ บุญทัศนกุล
นางวาณี สายประดิษฐ์ สมรสกับ นายสุรพันธ์ สายประดิษฐ์
การศึกษา
ปรีดีเริ่มศึกษาหนังสือไทยที่บ้านครูแสง ตำบลท่าวาสุกรี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมที่โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า จากนั้นไปศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย) จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับหัวเมือง แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อีก 6 เดือน จึงลาออกเพื่อกลับไปช่วยบิดาทำนา
พ.ศ. 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภากับอาจารย์เลเดแกร์ (E.Ladeker) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศ จนสอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตได้ ใน พ.ศ. 2462 แต่ตามข้อบังคับสมัยนั้นยังเป็นเนติบัณฑิตไม่ได้เพราะอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องรอจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ใน พ.ศ. 2463 จึงได้เป็นสมาชิกสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ต่อมาได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Université de Caen) สอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "บาเชอลิเอร์" กฎหมาย (Bachelier en Droit) และได้ปริญญารัฐเป็น "ลิซองซิเอ" กฎหมาย (Licencié en Droit)
หลังจากศึกษาสำเร็จในระดับปริญญาโทแล้ว ปรีดีได้ย้ายไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปารีส จนสำเร็จใน พ.ศ. 2469 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมดีมาก (Trés Bien) นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ปริญญาเอกแห่งรัฐ (Doctorat d'État) เป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย" (Docteur en Droit) ฝ่ายนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques) นอกจากนี้ท่านยังสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง (Diplôme d'Etudes Supérieures d'Economie Politique) อีกด้วย
หน้าที่การงานก่อนเข้าสู่การเมือง
เมื่อกลับถึงกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2470 ปรีดีเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม ต่อมา ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมายและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม" (พ.ศ. 2471) ต่อมาใน พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการประจำกรมร่างกฎหมาย
ในช่วงที่รับราชการในกระทรวงยุติธรรมนี้ ปรีดีได้รวบรวมกฎหมายไทยตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในสภาพกระจัดกระจายให้มารวมเป็นเล่มเดียว ใช้ชื่อว่า “ประชุมกฎหมายไทย” หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและได้รับการตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์นิติสาส์นซึ่งเป็นกิจการส่วนตัวของท่านเอง
นอกจากงานที่กรมร่างกฎหมายแล้ว ท่านยังเป็นอาจารย์ผู้สอนที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมอีกด้วย ในชั้นแรกได้สอนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยลักษณะหุ้นส่วน บริษัทและสมาคม ต่อมาได้สอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล ลูกศิษย์ของท่านในช่วงดังกล่าวนี้ได้แก่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายจิตติ ติงศภัทิย์ นายดิเรก ชัยนาม นายเสริม วินิจฉัยกุล นายเสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ นายไพโรจน์ ชัยนาม นายจินดา ชัยรัตน์ นายโชติ สุวรรณโพธิ์ศรี และนายศิริ สันตะบุตร
ใน พ.ศ. 2474 ปรีดีเป็นคนแรกที่เริ่มสอนวิชากฎหมายปกครอง (Droit Administratif)[29] กล่าวกันว่าวิชากฎหมายปกครองนี้ เป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงแก่ปรีดีเป็นอย่างมาก เพราะสาระของวิชานี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายมหาชน ซึ่งอธิบายถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอันเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่ประเทศไทยยังคงปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์[30] ในขณะเดียวกัน ก็ได้อาศัยการสอนที่โรงเรียนดังกล่าว ปลุกจิตสำนึกนักศึกษาให้สนใจเป็นขั้น ๆ ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบเดิมให้เป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมทบทวนวิชากฎหมายที่บ้านถนนสีลมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับนักศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุนคณะราษฎรหลายค
บทบาทก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
หมุดทองเหลือง บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า ได้มีการจารึกไว้ว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ"ในขณะที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส นายปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6 คน ประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเพื่อก่อตั้ง "คณะราษฎร" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ณ หอพักแห่งหนึ่งย่าน "Rue Du Sommerard" กรุงปารีส ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี, ร.ท.แปลก ขิตตะสังคะ, ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี, ภก.ตั้ว ลพานุกรม, หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี), นายแนบ พหลโยธิน โดยมีวัตถุประสงค์คือเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และการดำเนินเพื่อให้สยามบรรลุหลัก 6 ประการ
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ปรีดีร่วมกับสมาชิกคณะราษฎรที่ประกอบด้วยกลุ่มทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ หลังจากนั้นคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดให้มีการประชุมระหว่างคณะราษฎร และเสนาบดี ปลัดทูลฉลอง ขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อชี้แจงจุดประสงค์ หลักการระบอบใหม่ กฎหมายพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินโดยย่อ และขอความร่วมมือในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
กรพัฒนาด้านการศึกษา
ด้านการศึกษา
ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปรีดี พนมยงค์ ได้สถาปนา "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" (มธก.) ขึ้นเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 และได้รับแต่งตั้งเป็น "ผู้ประศาสน์การ" (พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2490) คนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัย เพื่อสนองเจตนารมณ์ของคณะราษฎรที่ว่า "จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร" ด้วยเห็นว่าในขณะนั้น สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีอยู่มิได้เปิดกว้างเพื่อชนส่วนใหญ่ ดังนั้นมหาวิทยาลัยใหม่ตามแนวความคิดของท่าน จึงเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างเพื่อราษฎร เป็นตลาดวิชา ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการศึกษาเล่าเรียนเท่าเทียมกัน
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับใช้เป็นเกียรติยศของผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 สภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นใหม่ แทนเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และนายปรีดี พนมยงค์[68] ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติแต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียว (1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 20 กันยายน พ.ศ. 2488)[7] และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไปอีก เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่สามารถเสด็จนิวัติประเทศไทยได้
หัวหน้าขบวนการเสรีไทย
ปรีดี พนมยงค์ ไม่เห็นด้วยกับการให้ญี่ปุ่นละเมิดอธิปไตยและแสดงจุดยืนให้ปรากฏโดยเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์การต่อต้านญี่ปุ่น หรือต่อมาเรียกว่า "ขบวนการเสรีไทย" ประกอบด้วยคนไทยทุกชั้นวรรณะ ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่ต่างประเทศ ท่านไม่ยอมลงนามในประกาศสงครามนั้นด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า หากลงนามไปแล้วก็ยากที่จะให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเชื่อถือการปฏิบัติการของขบวนการเสรีไทย
กระแสความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของรัฐบาลจอมพล ป. ได้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่ชนทุกเหล่า แต่รัฐบาลถือว่าตนเองมีความชอบธรรมในการปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วย อีกทั้งกองทัพญี่ปุ่นที่เข้ามาประจำการในประเทศ ก็ใช้ท่าทีที่แข็งกร้าวต่อผู้ที่ต้องสงสัยว่าดำเนินกิจกรรมต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ดังนั้นปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลและญี่ปุ่นผู้รุกรานจึงต้องเป็นงาน "ใต้ดิน" ที่ปิดลับ
ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในรหัสนามว่า "รู้ธ" (Ruth) ทำงานในสองบทบาทตลอดสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยถือความลับสุดยอดเป็นหัวใจของการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ภารกิจของเสรีไทยบรรลุเป้าหมายให้ได้ คือ
1.ต่อสู้กับญี่ปุ่นผู้รุกราน
2.ปฏิบัติการให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองเจตนารมณ์ที่แท้จริงของราษฎรไทย
3.ให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่น
ลี้ภัยรัฐประหาร
ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหาร ประกอบด้วย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ.อ.กาจ กาจสงคราม พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ.ถนอม กิตติขจร พ.ท.ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ด้วยสาเหตุที่รัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายคดีสวรรคตลงได้ ประกอบกับการลดบทบาทของกองทัพ และปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากยึดอำนาจสำเร็จ คณะรัฐประหารนำกำลังทหารพร้อมรถถังบุกยิงทำเนียบท่าช้างวังหน้าซึ่งปรีดีและครอบครัวอาศัยอยู่ แล้วพยายามจะจับกุมตัวปรีดี แต่ท่านก็หลบหนีไปได้ และได้อาศัยฐานทัพเรือสัตหีบเป็นที่หลบภัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อพิจารณาเห็นว่ายังไม่พร้อมที่จะต่อต้านคณะรัฐประหาร จึงได้ลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศสิงคโปร์ จนถึงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2491 จึงออกเดินทางต่อไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2492 ปรีดี พนมยงค์ กลับมาประเทศไทยเพื่อทำการยึดอำนาจคืนจากรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเหตุการณ์ "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์" เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 แต่กระทำการไม่สำเร็จ (เรียกกันว่า "กบฏวังหลวง") จึงต้องลี้ภัยไปต่างประเทศและไม่ได้กลับประเทศไทยอีกเลย
บทความโดย
1.นายพงษ์ศักดิ์ เพ็ชรโสม 524110005 สังคมศึกษา ปี 2.
2.นางสาวทิพาพร ณัฎฐาหฤษฎ์ 524110030 สังคมศึกษา ปี 2.
ที่มาของข้อมูล:เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์
ที่มาของรูปภาพ:www.google.com
วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554
ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
1.ประวัติดอยอินทนนท์
ดอยอินทนนท์เดิมชื่อ "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา" คำว่า "ดอยหลวง" หมายถึง ภูเขาสูงใหญ่ ส่วน "ดอยอ่างกา" นั้นมีเรื่องเล่ากันว่า ห่างจากยอดดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำ แต่ก่อนมีนกกาไปเล่นน้ำ กันมากมายจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา ต่อมาในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ( ปี พ.ศ. 2414 ถึง 2440 ) พระองค์มีความหวงแหนป่าไม้มาก โดยเฉพาะดอยหลวงแห่งนี้ จึงได้รับสั่งไว้ว่า หากพระองค์ถึงแก่พิราลัยแล้ว ให้นำพระอังคารของพระองค์มาไว้ ณ ยอดดอยหวงด้วย ครั้นเมืาอปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ฯ ถึงแก่พิราลัย ราชธิดา คือ เจ้าดารารัศมี (ราชชายาในรัชกาลที่ 5) จึงได้อัญเชิญพระอังคารของ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ฯ มาประดิษฐาน ณ พระสถูป บนยอดดอยหลวง เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของชาวเขาและประชาชนทั่วไป ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา จึงได้ เปลี่ยนชื่อเป็น "ดอยอินทนนท์" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
2.น้ำตกแม่กลาง
เป็นน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีขนาดใหญ่ชั้นเดียว สูงประมาณ 100 เมตร ต้นน้ำอยู่บนดอยอินทนนท์ มีน้ำไหลตลอดปี มีความสวยงามตามธรรมชาติ รอบๆ บริเวณร่มรื่นน่าพักผ่อน การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปอีก 8 กิโลเมตร แยกซ้าย 500 เมตร เป็นทางลาดยางตลอด
3.น้ำตกวชิรธาร
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมชื่อ ตาดฆ้องโยง ตัวน้ำตกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร น้ำจะดิ่งจากผาด้านบนตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ในช่วงที่มีน้ำมากละอองน้ำจะสาดกระเซ็นไปทั่วบริเวณรู้สึกได้ถึงความเย็นและชุ่มชื้น สะพานไม้ที่ทอดยาวเข้าไปหาหน้าผานั้นจะเปียกลื่นอยู่ตลอดเวลาในฤดูน้ำมากแต่หากเดินเข้าไปจนสุดจากจุดนั้นจะได้สัมผัสกับความงามของน้ำตกมากที่สุด
4.น้ำตกแม่ยะ
เป็นน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีขนาดใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง เพราะน้ำซึ่งไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงชัน 280 เมตร ลงมากระทบโขดหินเป็นชั้นๆ เหมือนม่าน แล้วลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง น้ำใสเย็นเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งบริเวณรอบๆ น้ำตกเป็นป่าเขาอันสงบเงียบ และมีศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวตั้งอยู่ด้วย บริเวณน้ำตกสะอาดและจัดการพื้นที่ได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 14 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 200 เมตร
5.ยอดดอย
บนยอดดอยมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก อากาศหนาวเย็นที่ยอดดอยจะพบสถูปพระอัฐ ของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่ บริเวณใหล้เคียงจะมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ซึ่งจะพบหนองน้ำศึมซับตลอดปี มีพันธุ์ไม้ที่แปลกแตกต่างจากที่อื่น เช่น กุหลาบพันปี ข้าวตรอกฤาษี เป็นต้น
6.ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากดอยอินทนนท์มีความสูงมากถึง 2,565 เมตร อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปีโดยในเดือนมกราคมเป็นเดือนที่มีอากาศหนาวเย็นมากที่สุดแระมาณ 5.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิใกล้เคียงกับประเทศคานาดา และอุณหภูมิลดลงถึง -8 องศาเซลเซียส แต่อย่งไรก็ตามจะมีฝนตกบ้างในเดือนพฤศจิกายนและมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดเวลา
การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ หลังจากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำปาง ลำพูน ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 695 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งคือจากนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก และลำปาง ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 696 กิโลเมตร
รถไฟ
มีรถด่วน และรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทุกวัน
รถโดยสารประจำทาง
มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันๆละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง
เครื่องบิน
การบินไทย บริการเที่ยวบินประจำระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
ที่มาของรูปภาพ:ชุมชนดอยอินทนนท์.คอม,www.google.com
ที่มาของข้อมูล:ชุมชนดอยอินทนนท์
ดอยอินทนนท์เดิมชื่อ "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา" คำว่า "ดอยหลวง" หมายถึง ภูเขาสูงใหญ่ ส่วน "ดอยอ่างกา" นั้นมีเรื่องเล่ากันว่า ห่างจากยอดดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำ แต่ก่อนมีนกกาไปเล่นน้ำ กันมากมายจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา ต่อมาในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ( ปี พ.ศ. 2414 ถึง 2440 ) พระองค์มีความหวงแหนป่าไม้มาก โดยเฉพาะดอยหลวงแห่งนี้ จึงได้รับสั่งไว้ว่า หากพระองค์ถึงแก่พิราลัยแล้ว ให้นำพระอังคารของพระองค์มาไว้ ณ ยอดดอยหวงด้วย ครั้นเมืาอปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ฯ ถึงแก่พิราลัย ราชธิดา คือ เจ้าดารารัศมี (ราชชายาในรัชกาลที่ 5) จึงได้อัญเชิญพระอังคารของ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ฯ มาประดิษฐาน ณ พระสถูป บนยอดดอยหลวง เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของชาวเขาและประชาชนทั่วไป ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา จึงได้ เปลี่ยนชื่อเป็น "ดอยอินทนนท์" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
2.น้ำตกแม่กลาง
เป็นน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีขนาดใหญ่ชั้นเดียว สูงประมาณ 100 เมตร ต้นน้ำอยู่บนดอยอินทนนท์ มีน้ำไหลตลอดปี มีความสวยงามตามธรรมชาติ รอบๆ บริเวณร่มรื่นน่าพักผ่อน การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปอีก 8 กิโลเมตร แยกซ้าย 500 เมตร เป็นทางลาดยางตลอด
3.น้ำตกวชิรธาร
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมชื่อ ตาดฆ้องโยง ตัวน้ำตกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร น้ำจะดิ่งจากผาด้านบนตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ในช่วงที่มีน้ำมากละอองน้ำจะสาดกระเซ็นไปทั่วบริเวณรู้สึกได้ถึงความเย็นและชุ่มชื้น สะพานไม้ที่ทอดยาวเข้าไปหาหน้าผานั้นจะเปียกลื่นอยู่ตลอดเวลาในฤดูน้ำมากแต่หากเดินเข้าไปจนสุดจากจุดนั้นจะได้สัมผัสกับความงามของน้ำตกมากที่สุด
4.น้ำตกแม่ยะ
เป็นน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีขนาดใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง เพราะน้ำซึ่งไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงชัน 280 เมตร ลงมากระทบโขดหินเป็นชั้นๆ เหมือนม่าน แล้วลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง น้ำใสเย็นเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งบริเวณรอบๆ น้ำตกเป็นป่าเขาอันสงบเงียบ และมีศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวตั้งอยู่ด้วย บริเวณน้ำตกสะอาดและจัดการพื้นที่ได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 14 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 200 เมตร
5.ยอดดอย
บนยอดดอยมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก อากาศหนาวเย็นที่ยอดดอยจะพบสถูปพระอัฐ ของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่ บริเวณใหล้เคียงจะมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ซึ่งจะพบหนองน้ำศึมซับตลอดปี มีพันธุ์ไม้ที่แปลกแตกต่างจากที่อื่น เช่น กุหลาบพันปี ข้าวตรอกฤาษี เป็นต้น
6.ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากดอยอินทนนท์มีความสูงมากถึง 2,565 เมตร อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปีโดยในเดือนมกราคมเป็นเดือนที่มีอากาศหนาวเย็นมากที่สุดแระมาณ 5.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิใกล้เคียงกับประเทศคานาดา และอุณหภูมิลดลงถึง -8 องศาเซลเซียส แต่อย่งไรก็ตามจะมีฝนตกบ้างในเดือนพฤศจิกายนและมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดเวลา
การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ หลังจากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำปาง ลำพูน ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 695 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งคือจากนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก และลำปาง ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 696 กิโลเมตร
รถไฟ
มีรถด่วน และรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทุกวัน
รถโดยสารประจำทาง
มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันๆละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง
เครื่องบิน
การบินไทย บริการเที่ยวบินประจำระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
ที่มาของรูปภาพ:ชุมชนดอยอินทนนท์.คอม,www.google.com
ที่มาของข้อมูล:ชุมชนดอยอินทนนท์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)